เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 2/2557 หน่วย: "การวัด ผ่านแอพพิเคชัน."
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

week2


บันทึกหลังการสอน


วันจันทร์ กิจกรรมการคิด
ครูมีบัตรคำให้นักเรียนดู ทุกคนอ่านบัตรคำพร้อมกัน
จากนั้นครูนำบัตรไปติดบนกระดาน
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
นักเรียนสังเกตเห็นอะไร
คำเหล่านี้เกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างไร
เราใช้คำเหล่านี้เวลาไหนบ้าง
พี่ภูมิ : คำว่าเที่ยงวันครับ ใช้ตอนเราไปกินข้าว
พี่แจ๊บ : คำว่าสายครับ ใช้ตอนที่นักเรียนมาเข้าแถวช้า
พี่ออม : คำว่าเที่ยงคืนค่ะ ตรงกันข้ามกับเที่ยงวัน
พี่แม็ค : บ่ายคล้อยคืออะไรครับ
ครูฟ้า : ใครรู้บางว่าบ่ายคล้อยเราใช้เวลาไหน
พี่มิว : หนูคิดว่าน่าจะหลังบ่ายไปอยู่ประมาณ บ่ายสามโมงค่ะ
ครูฟ้า : มีใครคิดต่างจากพี่มิวไหมคะ
พี่ออม : หนูว่าน่าจะเกือบบ่ายสี่โมงคะ
ครูฟ้า : นอกจากคำว่าบ่ายคล้อยมีคำไหนอีกบ้างที่นักเรียนไม่รู้จัก
พี่สตางค์ : พลบค่ำครับ
เพื่อนๆ : ก็อยู่ก่อนค่ำไง
จากนั้นครูขออาสาช่วยจัดบัตรคำให้สอดคล้องกับเวลาโดยมีเพื่อนๆช่วยเช็คตาม
หลังจากที่จัดบัตรคำเสร็จ ครูจับฉลากเป็นคู่ให้นักเรียนทำงานร่วมกัน
หลังจากทำงานเสร็จครูสุ่มนักเรียนนำเสนอและเล่นเกมทวนคำ
สุดท้ายคุณครูชื่นชมทุกความตั้งใจของนักเรียน
วันอังคาร
เรียนรู้เกี่ยวกับรูปเรขาคณิตและรูปทรงเรขาคณิต
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
รูปเรขาคณิตที่นักเรียนรู้จักมีอะไรบ้าง
รูปเรขาคณิตและรูปทรงเรขาคณิตเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
พี่ออม : สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมคะ
พี่แจ๊บ : วงกลมครับ
พี่ตะวัน : เก้าเหลี่ยมครับ
พี่ครัช : แปดเหลี่ยมครับ
ครูฟ้า : ยกตัวอย่างที่เราพบในชีวิตประจำวันว่ามีอะไรบ้าง
พี่แพรว : กระดาษคะ
พี่น็อต :  กระดาษที่ตัดเป็นวงกลมครับ
ครูฟ้า : รูปทรงเรขาคณิตที่นักเรียนรู้จักมีอะไรบ้าง
พี่ป.5 สามารถตอบได้ทุกคนโดยไม่ซ้ำกับเพื่อนๆ เช่น
พี่กอล์ฟ : ลูกฟุตบอลครับเป็นทรงกลม
พี่ครัช : พีรามิดครับ
พี่ แพรว : กระบอกไม้ไผ่ที่เป็นทรงกระบอกคะ
พี่แป้ง : ทรงกรวยคะ
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
ประดิษฐ์อะไรก็ได้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้และต้องมีรูปเรขาคณิต รูปทรงเขาคณิต และใช้ผ้าเป็นส่วนประกอบ
พี่ครัช : ทำบ้านครับ
พี่แพรว : เบาะรองนั่งคะ
พี่ใบเตย : หมอนคะ
พี่ออม : ที่วางแก้วน้ำคะ
จากนั้นนักเรียนออกแบบวางแผนสิ่งที่จะประดิษฐ์ ลงกระดาษ A4
การบ้าน เตรียมอุปกรณ์ สำหรับทำจริงในวันพุธ
วันพุธ
นักเรียนลงมือประดิษฐ์ตามที่ออกแบบวางแผนไว้ แต่มีนักเรียนอีก10คนที่ลืมอุปกรณ์
ครูจึงกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
นักเรียนจะทำอย่างไร เพราะเหตุใด
พี่ตะวัน : ผมหาผ้าไม่ได้ครับ จึงไม่ได้เตรียมมาครับ
พี่ตะวัน : ผมจะไปขอเพื่อนและถามคุณป้าแม่บ้านครับ
พี่แม็ค : ไม่มีอุปกรณ์ครับ
พี่แม็ค : ผมขอเปลี่ยนเป็นสิ่งที่มีอุปกรณ์นะครับ
จากนั้น นักเรียนทำงานตามที่วางแผนไว้ ท้ายชั่วโมงนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

วันพฤหัสบดี เรียนรู้เกี่ยวกับเวลาและอุณหภูมิผ่าน แอพพิเคชันสภาพอากาศ
ครูกระตุ้นการคิดโดยการเปิด แอพพิเคชันสภาพอากาศของสถานที่ต่างๆให้นักเรียนดู
พร้อมกับกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
สังเกตเห็นอะไรบ้าง?
แต่ละช่วงเวลาอุณหภูมิเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
สถานที่ส่งต่ออุณหภูมิหรือไม่ เพราะเหตุใด?
นักเรียนคิดว่าวันถัดไปอุณหภูมิจะเป็นอย่างไร ?
พี่แจ๊บ : ในเวลาเช้าอุณหภูมิต่ำครับ แต่พอสายๆอุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นครับ
พี่เพลง : แต่ละพื้นที่อุณหภูมิต่างกันค่ะ

 วันศุกร์ เรียนเวลา จากแอพพิเคชัน
ครูกระตุ้นการคิดโดยการเปิด แอพพิเคชันสภาพอากาศของสถานที่ต่างๆให้นักเรียนดู
พร้อมกับกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
สังเกตเห็นอะไรบ้าง?
ทำไมแต่ละประเทศเวลาไม่เท่ากัน ?
พี่ออม : ที่ตั้งไม่เหมือนกันค่ะ
พี่แม็ค : ภูมิประเทศต่างกันครับ
จากนั้นครูให้นักเรียนดูและจดเวลาของประเทศต่างๆดังนี้ เช่น New York, Japan, London, เลย
โจทย์
ให้นักเรียนหาผลต่างของแต่ละพื้นที่ เช่น เลยกับ New York, New Yorkกับ Japan, London เป็นต้น 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น