เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 2/2557 หน่วย: "การวัด ผ่านแอพพิเคชัน."
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

week4

บันทึกหลังการสอน
วันจันทร์ เรียนรู้ผ่านแอพพลิเคชันสภาพอากาศ ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
นักเรียนสังเกตเห็นอะไร เราได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้างจากแอพพลิเคชันสภาพอากาศ
พี่พุทธ : อุณหภูมิครับ
พี่เพลง : ดัชนี UVค่ะ
พี่สตางค์ : คำศัพท์เวลาครับ
พี่ภูมิ : ทดลองน้ำร้อน น้ำเย็น
พี่แจ๊บ : เครื่องมือวัดอุณหภูมิครับ
พี่ออม : การหาเวลาค่ะ
ครูฟ้า : มีเพิ่มจากเพื่อนๆอีกไหมค่ะ
พี่น็อท : การใช้ไอแพคดูสภาพอากาศครับ
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า ในสัปดาห์นี้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร
พี่อ้อม : ลมค่ะ
พี่แจ๊บ : ความกดอากาศครับ
พี่แพรว : ตำแหน่ง ที่ตั้งค่ะ
พี่แม็ค : เปอร์เช็นต์แบตจะรู้ได้อย่างไรครับ
จากนั้นนักเรียนเรียนรู้เรื่องลม
โดยครูเปิด ข้อมูลเรื่องลมแต่ละประเภท ในนักเรียนดู เทียบกับสภาพอากาศปัจจุบันว่าน่าจะเป็นลมประเภทไหน
นักเรียนตื่นเต้นมาก เพราะครูลองให้คาดเดาดูก่อน เมื่อครูบอกว่าเป็นลมอะไรทุกร้องเย้ๆ
จากนั้น ครูให้โจทย์ใหม่
เราจะประดิษฐ์อุปกรณ์วัดความเร็วได้อย่างไร  ครูให้เวลา 20 นาที เพื่อหาข้อมูลจากไอแพค
ท้ายชั่วโมงทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้และนัดหมายเรื่องการเตรียมอุปกรณ์


วันอังคาร เรียนรู้เกี่ยวกับการทำอุปกรณ์วัดทิศทางและความเร็วลม
พี่ๆป.5 เตรียมอุปกรณ์มาทุกกลุ่ม ยกเว้นเพื่อนที่ไม่ได้มาโรงเรียนในวันจันทร์
ก่อนลงมือทำ ครูทวนข้อตกลงและเปิดคลิปการทดลองลมให้นักเรียนดู
นักเรียนออกไปทำกิจกรรมข้างนอก วงกลมแบ่งหน้าที่กันในแต่ละคู่
พี่มิว : วงกลม รัศมี 10 เซนติเมตรทำอย่างไรคะ เราจะรู้ได้อย่างไรค่ะ วงเวียนใช้อย่างไรคะ คำถามมากมายจากนักเรียน
ครูฟ้า : ลองวัดดูก่อนนะคะ
พี่มิว : ได้แล้วคะ ต้องกางวงเวียน 10 เซนติเมตร
ครูฟ้าให้พี่ๆที่ไม่ได้เตรียมอุปกรณ์แก้ปัญหาเอง
พี่กอล์ฟ : ยืมวงเวียนและขอกระดาษที่เพื่อนเหลือ ใช้ไม้ตะเกียบเก่าที่มีในห้องป.4ครับ
พี่ครัช : ช่วยเพื่อนครับ
เมื่อทำอุปกรณ์วัดลมเสร็จนักเรียนนำอุปกรณ์ไปทดลอง อ่านค่าที่ได้พร้อมดูตารางบ่งชี้ประกอบ เป็นเรื่องใหม่สำหรับนักเรียน ทุกคนสนุกสนานกันมากค่ะ
ท้ายชั่วโมงนักเรียนช่วยกันทำความสะอาดบริเวณที่ทำงาน

วันพุธ เรียนรู้เรื่องตำแหน่งที่ตั้ง จากลูกโลก ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า นักเรียนสังเกตเห็นอะไร
พี่แจ๊บ : มหาสมุทรครับ
พี่ตะวัน : แม่น้ำครับ
พี่ออม : ประเทศต่างๆ ทวีปต่างๆ ค่ะ
พี่แม็ค : เส้นต่างๆครับ  
ครูฟ้า : เส้นที่แสดงบนลูกโลกบอกอะไรเราได้บ้าง
พี่โอ๊ค : สายการบินครับ
พี่ตะวัน : การค้าขายครับ
พี่แจ๊บ : บอกองศา ทิศทางด้วยครับ
จากนั้นนักเรียน หาข้อมูลเกี่ยวกับการอ่านแผนที่ลูกโลก ภายใน 15 นาที
เมื่อนักเรียนหาข้อมูลเสร็จแลกเปลี่ยนผ่านคำถามเช่น
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
เส้นละติจูด และลองติจูดคืออะไร เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแต่ละประเทศอย่างไร

วันพฤหัสบดี เรียนรู้ร่างกาย จาก ส่วนสูงและน้ำหนัก
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า นักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่าเราอ้วนหรือผอม
พี่ตะวัน : น้ำหนักเยอะครับ
พี่ออม : เป็นโรคง่ายค่ะ
จากนั้นครูให้นักเรียนจับคู่วัดน้ำหนักและส่วนสูง
ครูเขียนการคำนวณดัชนีมวลกายไว้ให้นักเรียนดู (พร้อมเกณฑ์แต่ละระดับ) บนกระดาน
นักเรียนกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมมาก ระดมความคิดช่วยกันในแต่ละคู่
ท้ายชั่วโมงแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน เช่น
พี่ใบเตย : หนูได้เรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนหน่วยค่ะ
พี่ออม : ทำให้เรารู้ว่าตนเองอยู่ในเกณฑ์ไหนคะ
พี่แพรว : ได้ช่วยเพื่อนในการคำนวณค่ะ
พี่มิว : ได้วัดน้ำหนัก ส่วนสูงให้เพื่อนคะ ปัญหาคือ หารทศนิยมไม่เป็นค่ะ แก้ปัญหาโดยหารจำนวนเต็มแทน
และประมาณค่าเอาค่ะ
วันศุกร์ ทบทวนสิ่งที่เรียนมาตลอดสัปดาห์
ก่อนเรียน ครูกระตุ้นด้วยคำถามว่า ที่บ้านใครมีเครื่องคิดเลขบ้าง (90 % ของห้องมีเครื่องคิดเลขที่บ้าน)
นักเรียนใช้อะไรในเครื่องคิดเลขบ้าง
พี่กอล์ฟ : ไม่ค่อยได้ใช้ครับ
พี่ใบเตย : บวก ลบ เลขค่ะ
นักเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับเครื่องคิดเลข สัญลักษณ์ในเครื่องคิดเลขคืออะไร ทำงานอย่างไร
นักเรียนส่วนใหญ่รู้จักการบวก ลบ คูณ และหารในเครื่องคิดเลขเท่านั้น ส่วนฟังก์ชันอื่นๆไม่รู้จัก
เมื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนเสร็จ นักเรียนร่วมกันทบทวนเกี่ยวกับ เรื่องลม และตำแหน่งที่ตั้ง
สรุปความเข้าใจตลอดสัปดาห์ ผ่าน Mind Mapping, นิทาน, การ์ตูนช่องหรือการเขียนบรรยาย แบบไหนก็ได้ตามความถนัดของตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น