เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 2/2557 หน่วย: "การวัด ผ่านแอพพิเคชัน."
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

week5

บันทึกหลังการสอน
วันจันทร์ เรียนรู้เกี่ยวกับความกดอากาศ ผ่านการทดลอง

ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
นักเรียนสังเกตเห็นอะไร
สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง
พี่ภูมิ : มีแก้ว น้ำ เม็ดยาง กระดาษแข็ง ผมคิดว่าครูฟ้าจะพาพวกเราทดลองครับ
พี่ออม : ให้พวกเราสังเกตสิ่งเกิดขึ้นค่ะ
จากนั้น ครูคว่ำแก้วลงบนเม็ดยางที่ลอยอยู่ในน้ำ  กระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า นักเรียนสังเกตเห็นอะไร และทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
พี่แม็ค : เม็ดยางจมครับ มันจมได้ไงครับ
พี่ภูมิ : อากาศๆ
พี่กอล์ฟ : มีน้ำในแก้วไหมครับ
ครูฟ้า : นักเรียนคิดว่ามีน้ำในแก้วไหมคะ
พี่ป.5 : มีครับ มีค่ะ ไม่ครับไม่มีค่ะ
ครูฟ้า : โอเคคะ มีดูกัน
ครูฟ้า : นำแก้วเปล่ามาแล้วใส่กระดาษชิชชู่ลงไปในแก้ว จากนั้นคว่ำลงบนเม็ดยางที่ลอยอยู่ในน้ำอีกครั้งหนึ่ง
ครูฟ้า : เอาแก้วขึ้นมาและดึงชิชชู่ให้เด็กๆดูปรากฎว่าชิชชู่ไม่เปียกน้ำ
เมื่อทำการทดลองเสร็จนักเรียนร่วมกันสรุปผลการทดลอง ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
วันอังคาร จัดหมวดหมู่การวัดต่างๆ

ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
นักเรียนสังเกตเห็นอะไร
พี่ตะวัน : ไม้บรรทัด ตาชั่งครับ
พี่ออม : ปริมาตรของน้ำที่ต่างกัน
พี่แจ็บ : มีครึ่งวงกลมด้วยครับ
ครูฟ้า : นักเรียนจะจัดหมวดหมู่สิ่งของเหล่านี้ได้อย่างไร
พี่แบงค์ : ชั่งน้ำหนักครับ
พี่แพรว : ใช้วัดความยาวค่ะ
พี่ออม : แบ่งเป็นการชั่ง การวัดความยาว วัดมุมด้วยคะและวัดปริมตรโดยการตวง
จากนั้นนักเรียนศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวัด สรุปความเข้าใจลงในสมุดของตนเอง
ท้ายชั่วโมง แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
วันพุธ คาดเดาน้ำหนักสิ่งของต่างๆ
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
หน่วยการวัดที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง
พี่มิว : ความสูง เป็นเซนติเมตร เมตร และน้ำหนัก เป็นกิโลกรัม กรัม
พี่น็อต : หน่วยตันครับ  เวลาที่ขายมัน(มันสำปะหลัง)ที่บ้าน
พี่ออม : หน่วยลิตร ในน้ำดื่ม
ครูฟ้า : นักเรียนสังเกตเห็นอะไร
จากนั้นนักเรียนคาดเดาน้ำหนักสิ่งของที่ครูเตรียมมา
เมื่อทุกคนเขียนน้ำหนักสิ่งของที่คาดเดาเสร็จ ครูขออาสาวัดสิ่งของและอ่านค่าน้ำหนักให้เพื่อนฟัง
หลังจากวัดน้ำหนักสิ่งของเสร็จ ครูกระตุ้นการคิดต่อว่า
ทำไมสิ่งของบางอย่างเราสามารถคาดเดาได้ใกล้เคียง บางอย่างไม่ใกล้เคียงเลย
พี่ออม : เพราะว่าเราสัมผัสมันบ่อย เช่นลูกบาส หรือพจนานุกรม
พี่แจ็บ : เทียบเคียงกับของที่เรารู้น้ำหนักครับ
วันพฤหัสบดี การเปลี่ยนหน่วย
ครูกระตุ้นให้อยากเรียนรู้ ผ่านการคาดเดา
มีขวดเปล่า 2 ขวด ขนาดต่างกัน
มีแก้วเปล่า 1 ใบ
มีน้ำในคุถัง
นักเรียนคิดว่าจะใช้น้ำกี่แก้ว ในการเติมน้ำให้เต็มขวดเปล่า 2 ขวด ที่มีขนาดต่างกัน
พี่แพรว : ขวดเล็ก น่าจะ 2 แก้ว กับอีกนิดๆค่ะ
พี่ออม : ขวดเล็ก น่าจะ 2 แก้ว กับอีก1ส่วน7ค่ะ
พี่แม็ค : ขวดใหญ่ น่าจะ 4 แก้วครับ
พี่แจ็บ : ขวดใหญ่ 5 แก้ว กับอีก 1 ส่วน 4ครับ

หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ครูขึ้นคำถามใหม่ เช่น
ครูฟ้าหนัก 43 กิโลกรัม ครูฟ้าหนักกี่ตัน
หมูหนัก 10 กิโลกรัม หมูหนักกี่ขีด
ครูสังข์สูง 160 เซนติเมตร ครูสังข์สูงกี่เมตร
น้ำ 1 ลิตร น้ำกี่มิลลิลิตร ฯลฯ
จากนั้นนักเรียนหาข้อมูล ผ่านการสอบถามผู้รู้ ห้องสมุด และอินเตอร์เน็ต
การบ้าน สอบถามน้ำหนักพ่อกับแม่ และเปลี่ยนหน่วยเป็นตัน
วันศุกร์  ทบทวนชั่ง ตวงและวัดความยาว
ครูแจกตารางบันทึกผลให้นักเรียนคนละ 1 แผ่น
ตารางที่ 1 เขียนชื่อสิ่งของที่ครูกำหนดให้
ตารางที่ 2 คาดเดาสิ่งของเหล่านั้น เช่น น้ำหนัก ความยาว ปริมาตร
ตารางที่ 3 ลงมือวัดจริง โดยแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม คือชั่ง ตวง และความยาว (แต่ละกลุ่มมีเวลา 5 นาที เวียนจนครบ)
ท้ายชั่วโมงแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น